เอดส์ ระยะสุดท้าย โทร.089-999-2935

เอดส์ ระยะสุดท้าย
เอดส์เป็นภาวะขั้นสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยเอดส์จะถูกทำลายเสียหายจนไม่สามารถต้านทานต่อโรคและการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเกิดภาวะแทรกซ้อนของเอดส์ได้ง่าย และบางโรคบางอาการป่วยที่รุนแรงอาจเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น

- วัณโรค ผู้ป่วยเอดส์มีโอกาสป่วยด้วยวัณโรค ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการไอจามอย่างเรื้อรัง แล้วเชื้ออาจลามไปยังปอด หรือทำให้อวัยวะอื่น ๆ เกิดความเสียหาย และเสี่ยงต่อการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
- โรคคริปโตค็อกคัสในระบบประสาท เป็นการติดเชื้อราที่ทำให้เยื่อหุ้มบริเวณสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง
- ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อรา สามารถทำให้ปอดเกิดการบวมอักเสบอย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต
- อุจจาระร่วงจากโปรโตซัว โปรโตซัวเป็นปรสิตเซลล์เดียวที่รบกวนระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้
- เริม โรคผิวหนังที่เกิดการอักเสบบริเวณปากหรืออวัยวะเพศจากการติดเชื้อไวรัส อาจเกิดแผลอักเสบรุนแรงขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องในภาวะเอดส์
- การติดเชื้อราและเกิดแผลอักเสบที่บริเวณปาก ภายในลำคอ หรือในช่องคลอด
- การติดเชื้อฉวยโอกาสจากแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร และน้ำหนักตัวลด
- การติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส ทำให้มีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับดวงตาจนอาจนำไปสู่การตาบอด เกิดแผลเป็นหนองอักเสบ และอาการท้องร่วงรุนแรงได้ด้วย
- โรคมะเร็ง เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเอชไอวี จนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งลามไปทั่วต่อมน้ำเหลือง ทั้งบริเวณลำคอ รักแร้ หรือตามข้อพับต่าง ๆ นอกจากนี้ ในบางรายอาจเป็นมะเร็งหลอดเลือดคาโปซี ที่เกิดเซลล์เนื้อร้ายก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อผนังหลอดเลือด เกิดเป็นบาดแผลสีแดง หรือสีม่วงตามผิวหนัง

ภาวะแทรกซ้อนในระบบประสาท ถึงแม้บางครั้งเอดส์จะไม่ได้สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อสมองและระบบประสาทโดยตรง แต่จากอาการป่วยและติดเชื้อที่อวัยวะเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อระบบประสาทได้ รวมถึงอาจมีรูปแบบพฤติกรรมและการแสดงออกทางจิตใจที่เปลี่ยนไปได้ด้วย ทำให้มีอาการแสดงทางประสาทออกมา เช่น อาการสับสนมึนงง หลงลืม ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนที่ง่าย ๆ เช่น การเดิน เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.089-999-2935,090-465-6360

คลิกลิงก์เพื่อรับข้อมูลงานวิจัย เพิ่มเติม https://line.me/R/ti/p/%40ptt4587q