ไทรอยด์เป็นพิษ

#ไทรอยด์เป็นพิษ

#HealthCenter
#https://www.youtube.com/channel/UCBrcRt7scwPT3khbRoLHoiA

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น
อาการที่พบได้มากที่สุดในคนที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษก็คือ อาการคอพอก ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกหรือเห็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ ซึ่งบางครั้งแพทย์ก็อาจสามารถตรวจพบอาการคอพอกได้ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคไทรอยด์เป็นพิษได้ เช่น

1. อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
2. คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
3. นอนหลับยาก
4 มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
5. สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
6. ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
7. กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
8. เล็บยาวเร็วผิดปกติ
9. หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
10. มือสั่นตลอดเวลา
11. มีอาการคัน
12. เหงื่อออกมาก
13. ผิวหนังบาง
14. น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
15. อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

ทั้งนี้หากเริ่มมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณสำคัญของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือเกิดจากเนื้องงอกที่บริเวณต่อมหมวกไตได้ หากปล่อยไว้จะยิ่งรักษาได้ยากมากขึ้น

#สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย และมีสภาวะเป็นพิษ จนส่งผลต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ โดยไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

1. โรคเกรฟวส์ (Graves' Disease) จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติจนกลายเป็นพิษ ซึ่งยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคเกรฟวส์นั้นเกิดจากอะไร พบเพียงแต่ว่าโรคดังกล่าวมักเกิดขึ้นในผู้หญิงในวัยรุ่นและวัยกลางคน อีกทั้งยังเป็นได้ว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยการสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคเกรฟวส์มากขึ้น

2. การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์

3. เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้

4. การอักเสบของต่อมไทรอยด์ (Thyroiditis) การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้

5. การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

..........................................................................................
ปรึกษาปัญหาสุขภาพเพิ่มเติมและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์งานวิจัยได้ที่:
☎ 089-986-1792